การประชุมเชิงสัมมนาทางวิชาการศูนย์อาเซียนศึกษา สปท. ครั้งที่ 3/62 เรื่อง “ทิศทางการเมืองมาเลเซียผลกระทบต่อความมั่นคงของไทย”

       ศศย.สปท. การประชุมเชิงสัมมนาทางวิชาการศูนย์อาเซียนศึกษา สปท. ครั้งที่ 3/62 เรื่อง “ทิศทางการเมืองมาเลเซียผลกระทบต่อความมั่นคงของไทย” เมื่อวันที่ 11-13 ก.พ.62  โรงแรม ณ เวลา จ.ราชบุรี  โดยมี พล.ท. ปริพัฒน์  ผลาสินธุ์  รอง ผบ.สปท. เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมฯ

      

        

        

        

        

        

ผลการประชุมฯ สรุปได้ดังนี้

1. ไทยและมาเลเซียตั้งอยู่บนจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ มีที่ตั้งทางภูมิรัฐศาสตร์ตรงกลาง  ที่สามารถเชื่อมโยงสองมหาสมุทรเข้าด้วยกัน (มหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟิก) เป็นพื้นที่เป้าหมายของกลุ่มก่อการร้ายรัฐอิสลาม (Islamic State) เพื่อขยายแนวคิดสุดโต่งในภูมิภาค และเนื่องจากมาเลเซียมีแร่ธาตุหายาก (Rare Earth) ทำให้ชาติมหาอำนาจพยายามเข้ามาเสริมสร้างความสัมพันธ์กับมาเลเซียมากขึ้น

        2. มาเลเซียกับชาติสมาชิกอาเซียนอาจเกิดความหวาดระแวงระหว่างกัน เช่น การแก้ไขปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย การอ้างสิทธิ์ในพื้นที่ทับซ้อนกับสิงคโปร์ การแข่งขันทางด้านการค้า  ที่รุนแรง การยกเลิกสัญญากับจีนในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงอาเซียน การทบทวนสัญญาการซื้อขายน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภคกับสิงคโปร์ เป็นต้น

3. แนวโน้มสถานการณ์การเมืองมาเลเซียในอนาคต อดีตนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค มีโอกาสได้รับการพระราชทานอภัยโทษ เนื่องจากอดีตนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค มีความสัมพันธ์แบบเครือญาติกับสมเด็จพระราชาธิบดีพระองค์ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลละฮ์ เรียยาตุดดิน อัล-มุซตาฟา บิลละฮ์ ชะฮ์ สุลต่านแห่งรัฐปะหัง ดังนั้น ความสัมพันธ์ดังกล่าวอาจทำให้อดีตนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค ได้รับการพระราชทานอภัยโทษได้

        4. ระบบการปกครองของมาเลเซียมีความแตกต่างจากไทย เนื่องจากมาเลเซียปกครองด้วยระบบสหพันธรัฐ ดังนั้นการสร้างความสัมพันธ์ในระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับรัฐก็ย่อมมีความสำคัญด้วย และส่งเสริมให้การแก้ไขปัญหาในพื้นที่ชายแดนมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

        5. เมื่อวันที่ 24 - 25 ต.ค.61 ดร. มหาเธร์ นายกรัฐมนตรีของมาเลเซียวัย  93 ปี ได้เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ โดยการประชุมในครั้งนี้เป็นการปลด Dead locked ที่เกิดขึ้นจากการเจรจาสันติภาพในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา โดย ดร. มหาเธร์ ได้มีการแนะนำ Facilitator ท่านใหม่ของฝ่ายมาเลเซียที่จะทำหน้าที่เป็นคนกลางของการเจรจาสันติภาพ โดยผู้ที่จะดำรงตำแหน่งหัวหน้าของ Joint Working Group on Peace Dialogue Process (JWG-PDP) คือ Tan Sri AbdulRahim Noor ซึ่งก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางของมาเลเซีย (Former Inspector-General Police) แสดงให้เห็นว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำ ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงทีมงานสำหรับการเจรจาสันติภาพด้วย ดังนั้นหากในระยะอันใกล้นี้มีการเปลี่ยนแปลงนายกรัฐมนตรีจาก ดร. มหาเธร์ เป็นนายอันวาร์ อิบราฮิม ทีมงานสำหรับการพูดคุยสันติภาพอาจเปลี่ยนแปลงไปด้วย ส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวชายแดน นอกจากนี้มาเลเซียยังมีเครือข่ายทางการค้าและความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศในอาเซียน ไทยจึงสามารถแสวงประโยชน์จากเครือข่ายความสัมพันธ์ของมาเลเซียดังกล่าว และ (3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม มาเลเซียมีการผสมผสานของเชื้อชาติต่าง ๆ ทำให้มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาจีนได้ดี ซึ่งไทยสามารถใช้โอกาสนี้ในการพัฒนาด้านการศึกษาของไทย

ผลที่ได้จากการสัมมนากลุ่มย่อย (workshop) สรุปได้ดังนี้

1. การเมืองมาเลเซียส่งผลกระทบต่ออาเซียน ดังนี้ (1) สถานการณ์ทางด้านการเมืองมาเลเซียส่งผลทำให้ชาติสมาชิกอาเซียนต้องตระหนักและให้ความสำคัญเกี่ยวกับประเด็นปัญหาคอรัปชั่นมากขึ้น (2) การดำเนินการนโยบายภูมิบุตรของมาเลเซีย ที่ส่งผลกระทบและทำให้เกิดความขัดแย้งของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในมาเลเซียเอง และส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศของชาติสมาชิกอาเซียน (3) การแสดงท่าทีของผู้นำมาเลเซียที่มีความแข็งกร้าวต่อนานาชาติ อาจส่งผลกระทบต่อชาติอาเซียนในอนาคต (4) การที่มาเลเซียมีเสถียรภาพในการดำเนินนโยบายสูง อาจเป็นโอกาสและส่งผลดีให้แก่ชาติสมาชิกอาเซียนในการดำเนินนโยบายต่าง ๆ กับมาเลเซียมากขึ้น (5) การแสดงนโยบายต่างประเทศของมาเลเซียเกี่ยวกับปัญหาทะเลจีนใต้อาจส่งผลกระทบต่อชาติสมาชิกอาเซียนเองและประเทศอื่น ๆ นอกภูมิภาค (6) การแข่งกันในการเป็นศูนย์กลางอาเซียน อาจทำให้อำนาจที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่ประธานอาเซียน และอาจทำให้มาเลเซียมีอำนาจเข้าไปชี้นำชาติสมาชิกอาเซียนในประเด็นต่าง ๆ ได้ และ (7) ปัญหาบุคคล 2 สัญชาติในมาเลเซียอาจก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ แก่ชาติสมาชิกอาเซียนในอนาคต เช่น การค้ามนุษย์ การค้าสิ่งผิดกฎหมาย การก่อการร้าย ฯลฯ 

2. ความร่วมมือระหว่างอาเซียนและมาเลเซียจะร่วมมือกันเพื่อประโยชน์สูงสุด ดังนี้  (1) การเสริมสร้างการเชื่อมโยง (Connectivity) ของชาติอาเซียนในมิติต่าง ๆ ไม่ควรคำนึงถึงความแตกต่างของชาติ ศาสนา แต่ให้คำนึงภาพรวมของอาเซียน (2) อาเซียนควรเสริมสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นำของชาติสมาชิกอาเซียนให้มีความใกล้ชิดมากขึ้น เช่น การเดินทางเยี่ยมเยือนระหว่างผู้นำ (3) การดำเนินการจัดกิจกรรม เพื่อเป็นปัจจัยขับเคลื่อนชาติอาเซียน เช่น การท่องเที่ยวอาเซียน อาหารอาเซียน เป็นต้น (4) ควรมีการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างชาติอาเซียนมากขึ้น เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันอย่างแท้จริง อันจะนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน (5) มาเลเซียและอาเซียน ควรให้การสนับสนุนการเจรจาสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และประเด็นปัญหาอื่น ๆ ของชาติสมาชิกอาเซียน (6) ชาติสมาชิกอาเซียน ควรยึดถือปฏิบัติตามกฎบัตรอาเซียนอย่างเคร่งครัด (7) หน่วยงานด้านความมั่นคงของชาติสมาชิกอาเซียน ควรดำเนินงานภายใต้กรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (8) การเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการรวมตัวเป็น อาเซียนให้แก่ประชาชนในทุกระดับชั้นเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน โดยการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง และ  (9) อาเซียนควรรักษาเสถียรภาพและแก้ปัญหาด้วยตนเอง เพื่อป้องกันการแพร่ขยายพลังอำนาจของชาติมหาอำนาจ

3. การเมืองของมาเลเซียจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ดังนี้ (1) ด้านการเมืองและความมั่นคง: 

ในยุคของ ดร.มหาเธร์ นโยบายด้านความมั่นคงในภาพรวมไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก เนื่องจากการมีความสัมพันธ์ที่ดีในระดับผู้นำ โดยในห้วงปี 2561 ดร. มหาเธร์ เยือนไทยถึงสามครั้ง อย่างไรก็ตาม หากในอนาคต นายอันวาร์ ขึ้นมาเป็นผู้นำมาเลเซีย นโยบายในเรื่องสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อาจมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องมาจาก นายอันวาร์ มีความเป็นมุสลิม และเห็นใจพี่น้องมุสลิมมากกว่าในยุคของ อดีตนายกรัฐมนตรีนาจิบ นอกจากนี้ยังมีความต้องการให้พื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้เป็นเขตปกครองพิเศษ ดังนั้นแนวนโยบายในอนาคตจึงอาจมีแนวนโยบายที่เอนเอียงไปทางพี่น้องมุสลิม (2) ด้านเศรษฐกิจ: หากในอนาคตมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำทางการเมือง แนวนโยบายและยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจอาจไม่เปลี่ยนมาก/ ไม่กระทบต่อไทยมากนัก เนื่องจาก   ที่ผ่านมาไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับมาเลเชีย และไทยไม่มีท่าเรือขนาดใหญ่ทางภาคใต้จึงทำให้การส่งออกของไทยต้องพึ่งมาเลเซีย และ (3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม: ดร. มหาเธร์ และนายอันวาร์ ยึดหลักอิสลามสายกลางเช่นเดียวกับ อดีตนายกรัฐมนตรีนาจิบ จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทางนโยบายมากนัก 

4. กองทัพและหน่วยงานภาครัฐควรเตรียมพร้อมในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของมาเลเซียในอนาคต ได้ดังนี้ มาตรการเชิงรุก ได้แก่ (1) การเสริมความเข้มแข็งของกลไกในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะอาชญากรรมข้ามชาติ (2) การพัฒนาระบบการข่าว และการแจ้งเตือนร่วมกัน (3) การดำรงและดำเนินความสัมพันธ์โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกัน เช่น การเชื่อมโยงพื้นที่ชายแดน การอำนวยความสะดวกต่างๆ 

การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น (4) ในด้านการศึกษา ควรมีการบูรณาการร่วมกันในการสร้างภูมิคุ้มกันทางการศึกษา เช่น การให้การศึกษาพื้นฐาน การให้ความรู้ในการอยู่ร่วมกันโดยสันติวิธี และ (5) ใช้โอกาสที่ไทยเป็นประธานอาเซียนในปี 2562 ในการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ มาตรการเชิงรับ ได้แก่ (1) ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการแก้ปัญหาในพื้นที่ และ (2) ร่วมมือกันในการสร้างสันติสุขในชายแดนใต้ 3) ไทยและมาเลเซียจะมีแนวทางในการสร้างความร่วมมือกันได้อย่างไร 

5.แนวทางในการสร้างความร่วมมือกันในอนาคต ได้แก่ (1) ผลักดันให้มีหอการค้าจังหวัด ไทย-มาเลเซีย เพื่อเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพด้านการค้า/การลงทุน (2) ไทยและมาเลเซียควรเสริมสร้างความสัมพันธ์ภาพรวมอย่างรอบด้าน และ (3) ส่งเสริมประสิทธิภาพกลไกที่มีอยู่ของไทยและมาเลเซียให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

6. การเมืองของมาเลเซียจะส่งผลกระทบต่อสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้ (1) ดร. มหาเธร์ จะช่วยให้การแก้ปัญหาเป็นไปในทางที่ดีขึ้น มีความสัมพันธ์ที่ดีกับไทย เป็นอิสลามสายกลางที่ประนีประนอม ซึ่งจะทำให้แนวทางในการแก้ไขปัญหาเป็นไปในทางที่ดีขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นจึงควรเร่งดำเนินการกระชับความสัมพันธ์ใน 2 ปีนี้ (2) ไทยต้องปรับนโยบายใหม่การแก้ปัญหาใหม่ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำด้านความมั่นคงมาเลเซีย และมีแนวคิดที่แตกต่างจากเดิม จึงต้องเริ่มความสัมพันธ์ใหม่กับไทย และอาจส่งผลต่อการประสานงาน (3) มีนโยบายเชิงรุกด้านการต่างประเทศ เช่น การจัดทำโครงการบ้านพี่เมืองน้องระหว่างสาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยกับกูตาบารู กลันตัน ตรังกานู ให้คนฝ่ายมาเลเซียชื่นชอบฝ่ายไทยมากขึ้น เพื่อให้ผลประโยชน์แห่งชาติเกิดขึ้นร่วมกันทั้งสองฝ่าย และ (4) การปลูกฝังเยาวชนผ่านโรงเรียนปอเนาะ ซึ่งส่งผลมากในพื้นที่ เช่น ความเชื่อ ศาสนา และความขัดแย้งในพื้นที่ 

7. กองทัพและหน่วยงานภาครัฐควรเตรียมพร้อมในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของมาเลเซียในอนาคต ดังนี้ (1) สานความสัมพันธ์กับผู้นำเหล่าทัพ พลเรือนของมาเลเซีย และชุมชน (2) พัฒนาการข่าวให้มีความทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์มากขึ้น (3) ปรับนโยบายโดยการใช้การกำหนดภาพอนาคต (Scenario) (4) จัดกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ เช่น กีฬาร่วมกัน (5) ส่งเสริมให้การเมืองมีเสถียรภาพ (6) ดำเนินนโยบายความมั่นคงต่อกันที่ดีต่อไป (7) พัฒนาระบบบริการสุขภาพให้ครบวงจรเพื่อรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และ (8) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมระหว่างประเทศ

++ เอกสารประกอบประชุม ++