วิสัยทัศน์ กองบัญชาการกองทัพไทย
วิสัยทัศน์
“กองบัญชาการกองทัพไทย ควบคุมและอำนวยการร่วมเหล่าทัพให้พร้อมรองรับภัยคุกคามได้ทุกรูปแบบและทุกมิติ ด้วยความทันสมัย ประสานสอดคล้อง แน่นแฟ้นในทุกระดับ ได้รับการยอมรับจากประชาชนและกองทัพพันธมิตรประเทศ”
ค่านิยมหลัก (Core Values)
เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญอันหนึ่งขององค์กร
ซึ่งจะบ่งบอกถึงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ว่า ต้องการให้บุคลากรทุกคนในองค์กรประพฤติปฏิบัติตนอย่างไร
ค่านิยมหลักกองบัญชาการกองทัพไทย
กำหนดขึ้นเพื่อให้เป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของกองบัญชาการกองทัพไทย
เป็นสิ่งที่กำหนดให้กำลังพล
ทุกนายที่ปฏิบัติงานในกองบัญชาการกองทัพไทย
มีพฤติกรรมในการประพฤติปฏิบัติตนที่เป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน
ค่านิยมหลักนี้เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญในการผลักดันให้กองบัญชาการกองทัพไทยสามารถ บรรลุซึ่งวิสัยทัศน์ที่กำหนด
และเป็นรากฐานในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่พึงประสงค์ของ กองบัญชาการกองทัพไทยไปสู่วัฒนธรรมองค์กรที่ดีต่อไป
ค่านิยมหลักในการปฏิบัติ
ค่านิยมหลักเป็นพฤติกรรมที่สร้างคุณค่าพื้นฐานและเกี่ยวข้องกับกำลังพลของกองบัญชาการกองทัพไทย ทุกนาย
ที่จะได้รับการเตรียมความพร้อมให้ยอมรับในความรับผิดชอบของตนเอง
และสามารถคิดได้อย่าง
รอบคอบเกี่ยวกับผลที่จะตามมาอันเกิดจากการกระทำของตน
และพร้อมรับผิดจากผลของการกระทำอันนั้น ค่านิยมหลักที่กำหนดขึ้นนี้
จะมีพฤติกรรมบ่งชี้กำกับ เพื่อนำไปสู่การประเมินผลพฤติกรรมการปฏิบัติของ กำลังพลแต่ละนายได้อย่างชัดเจน
กองบัญชาการกองทัพไทย
มีหน้าที่
•
ควบคุม อำนวยการ
สั่งการ และกำกับดูแลการดำเนินงานของส่วนราชการในกองบัญชาการกองทัพไทย ในการเตรียมกำลัง
การป้องกันราชอาณาจักรและการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังทหาร ตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
• รับผิดชอบวางแผน พัฒนา และดำเนินการเกี่ยวกับระบบควบคุมบังคับบัญชากองทัพไทย ให้สามารถ เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งในระดับรัฐบาล กระทรวง และหน่วยงาน ในกระทรวงกลาโหม ตลอดจนแบ่งมอบความรับผิดชอบในการดำเนินการ ให้กับกองทัพและ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
ค่านิยมหลัก
บก.ทท. ประกอบด้วย ๔ หลักดังนี้
•
ค่านิยมหลักที่ ๑
ความเป็นทหารอาชีพ (Military
Professionalism)
•
ค่านิยมหลักที่ ๒
ความจงรักภักดี (Loyalty)
•
ค่านิยมหลักที่ ๓
ความกล้าหาญ (Courage)
•
ค่านิยมหลักที่ ๔
การทำงานเป็นทีม (Teamwork)
ความเป็นทหารอาชีพ
(Military
Professionalism)
คือ
ความมุ่งมั่นสำหรับสิ่งที่ดีที่สุดจากการปฏิบัติงานในหน้าที่
โดยการทำงานอย่างทุ่มเทและทำให้ดี
ที่สุดตามขีดความสามารถที่มีอยู่
เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพสูง ยังผลให้เกิดความภาคภูมิใจถึงผลของงานที่ ปรากฏออกมา
รวมถึงมุ่งแสวงหาหนทางที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพของการทำงานให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการพยายามค้นหาเพื่อขจัดสิ่งที่ไม่มีประสิทธิภาพและไร้ประโยชน์
ซึ่งในการปฏิบัติงานนั้นจะต้องพร้อมที่ จะปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงานตามสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
ผู้ปฏิบัติงานในแต่ละ
ตำแหน่งหน้าที่จะต้องให้คำแนะนำที่ถูกต้อง
ทันเวลา ครอบคลุม และยุติธรรม รวมทั้งประพฤติปฏิบัติตนให้ แสดงออกถึงมาตรฐานสูงสุดของความซื่อสัตย์อย่างแท้จริง
ในการปกครองและกำกับดูแลกำลังพล
ผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับชั้นจะต้องมีความยุติธรรมและ พร้อมรับผิดต่อการกระทำและการตัดสินใจของตนเอง
จะไม่ยินยอมให้มีการประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ขัดต่อ จรรยาวิชาชีพทหารด้วยการปกปิดพฤติกรรมดังกล่าว
ซึ่งจะนำไปสู่การเสื่อมเสียชื่อเสียงของหน่วย
สำหรับความหมายของพฤติกรรมการเป็นทหารอาชีพ
สรุปได้ดังนี้
๑.
ความมีวินัย (Disciplinary)
๒.
การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result-based)
๓.
การสร้างนวัตกรรม (Innovation)
๔.
ความเป็นผู้นำ (Leadership)
๕.
ความซื่อสัตย์ (Integrity)
พฤติกรรมบ่งชี้
•
ประพฤติปฏิบัติตามวินัย
แบบธรรมเนียมทหาร และจรรยาวิชาชีพทหาร อย่างเคร่งครัด
•
มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบให้บรรลุผลสำเร็จโดยใช้ความเชี่ยวชาญในงาน อย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพสูง
•
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
พยายามค้นหาแนวทางปฏิบัติที่ดีกว่าในการปฏิบัติหน้าที่การงาน เพื่อปรับปรุงและขจัดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์จากขั้นตอนการปฏิบัติงาน
โดยมุ่งเน้นที่ผลสัมฤทธิ์ของงาน
•
หมั่นฝึก ศึกษา
และพัฒนาตนเองเพื่อแสวงหากระบวนการและวิธีการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น
•
ปฏิบัติงานอย่างมีส่วนร่วม
และสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงานตามสภาวะ แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
•
มีความสามารถในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามสถานการณ์
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
•
ซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา
และไม่ปกปิดพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง
ความจงรักภักดี
(Loyalty)
คือ
การยึดมั่นและแสดงออกซึ่งการปกป้อง เทิดทูน และพิทักษ์รักษา ๓ สถาบันหลัก ได้แก่
สถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
โดยแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่น้อมนำพระบรมราโชวาทและคำสัตย์ปฏิญาณ ในการปฏิบัติราชการ
มาใช้ในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบในความรับผิดชอบให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ หน่วยงานกำหนดขึ้น
รวมถึงพฤติกรรมการปฏิบัติกับเพื่อนร่วมงานในทุกระดับชั้นด้วยความเท่าเทียม ดูแล เอาใจใส่และเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
เพื่อนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดของปวงชนชาวไทย และประเทศชาติ ส่งผลต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสถาบันหลักให้คงอยู่ตลอดไป
พฤติกรรมบ่งชี้
•
น้อมนำพระบรมราโชวาทและคำสัตย์ปฏิญาณในการปฏิบัติราชการ
มาใช้ในการปฏิบัติงานของ
ตนเอง
•
ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่หน่วยงานกำหนดขึ้น
•
ปฏิบัติกับเพื่อนร่วมงานในทุกระดับชั้นด้วยความเท่าเทียม
ดูแลเอาใจใส่และเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและ กัน
•
ปฏิบัติงานที่สร้างคุณค่าและความคุ้มค่า
เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและประเทศชาติ
ความกล้าหาญ (Courage)
ความกล้าหาญด้านจิตใจ (Moral Courage) หมายถึง ลักษณะนิสัยที่ตรงไปตรงมา กล้าแสดงออก และยืนหยัดในสิ่งที่ถูก กล้าเปิดเผยในสิ่งที่ผิดหรือไม่ถูกต้อง กล้ายอมรับคำวิจารณ์ที่มีเหตุผล และยอมรับ ข้อบกพร่องต่างๆ เพื่อการเรียนรู้และปรับปรุง รวมถึงให้ข้อมูลในการประเมินผลการปฏิบัติงานตามความเป็นจริง
ความกล้าหาญทางกาย (Physical Courage) หมายถึง
ความไม่เกรงกลัวในการเผชิญหน้าต่อ
ภยันตรายต่างๆ
ทั้งที่เกิดผลต่อชีวิตโดยตรงและโดยอ้อม (ไม่เกิดกับร่างกายโดยตรง)
พฤติกรรมบ่งชี้
•
มีลักษณะนิสัยที่ตรงไปตรงมา
กล้าแสดงออกและยืนหยัดในสิ่งที่ถูก กล้าเปิดเผยในสิ่งที่ผิดหรือไม่ ถูกต้อง ไม่โอนอ่อนผ่อนตามอิทธิพลใดๆ
•
กล้ายอมรับคำวิจารณ์ที่มีเหตุผล
และยอมรับข้อบกพร่องต่างๆ เพื่อการเรียนรู้และปรับปรุงให้ดีขึ้น
•
ให้ข้อมูลในการประเมินผลการปฏิบัติงานตรงตามความเป็นจริง
ทั้งในฐานะเป็นผู้ประเมินและผู้รับ
การประเมิน
•
ไม่เกรงกลัวในการเผชิญหน้าต่อภยันตรายต่างๆ
ทั้งที่จะทำให้เกิดผลต่อชีวิตโดยตรงและโดยอ้อม
การทำงานเป็นทีม
(Teamwork)
คือ
การปฏิบัติงานร่วมกันด้วยความเคารพ เชื่อถือ
และตระหนักถึงจุดประสงค์ของการมีส่วนร่วมของ ทุกคน การทำงานเป็นทีมจะได้รับการปลูกฝัง
ให้เป็นวัฒนธรรมที่เข้มแข็งทั่วทั้งกองบัญชาการกองทัพไทย รวมถึงการมีภาวะ ผู้นำด้านบวกและการรับฟังความเห็น
เพื่อนำไปสู่ความต้องการร่วมกันของ สมาชิกในทีม การทำงานเป็นทีมของกองบัญชาการกองทัพไทย
ถือเป็นการรวมเป็นหนึ่งเดียวกันในทุกสิ่งที่ทำ แสดงถึง ความสัมพันธ์กันในการทำงานร่วมกันภายในกองบัญชาการกองทัพไทยให้ประจักษ์ต่อหน่วยงานอื่นๆ โดยผู้บังคับบัญชา
แต่ละระดับจะต้องสนับสนุนให้มีบรรยากาศการทำงานที่มีการช่วยเหลือให้ความร่วมมือ ซึ่งกันและกัน
มีการสื่อสารกันอย่างเปิดเผยและแก้ไขปัญหาเป็นหมู่คณะ
ส่งเสริมให้มีการแสดงความคิดเห็น
และใช้ความได้เปรียบในความหลากหลายของความรู้และประสบการณ์เฉพาะตนของกำลังพล
พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
มีความหมายโดยรวมสรุปได้ดังนี้
๑.
การบูรณาการ (Integration)
๒.
การปฏิบัติการร่วม (Joint
Operation)
๓.
เป็นหนึ่งเดียวกัน (Unity/Harmony)
พฤติกรรมบ่งชี้
•
ปฏิบัติงานร่วมกันด้วยความเคารพ
เชื่อถือ และตระหนักถึงจุดประสงค์ของการมีส่วนร่วม
•
รับฟังความเห็นของเพื่อนร่วมงานหรือสมาชิกในกลุ่ม
อย่างมีหลักการและเหตุผล
•
ส่งเสริมให้มีบรรยากาศการทำงานที่มีการช่วยเหลือให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน
สื่อสารกันอย่าง
เปิดเผยและแก้ไขปัญหาเป็นหมู่คณะ
รวมถึงสนับสนุนให้มีการแสดงความคิดเห็นของกำลังพล (เฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับ)
•
สื่อสารกันอย่างเปิดเผยและยอมรับวิธีการที่หลากหลาย
เพื่อมุ่งเป้าหมายเดียวกัน
•
กล้าแสดงความคิดเห็นในการทำงานร่วมกัน
โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ที่ผ่านมา
• สามารถบูรณาการรวมแนวความคิดของหมู่คณะ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตรงตามสิ่งที่สมาชิกของทีม ต้องการร่วมกัน