การประชุมเชิงสัมมนาทางวิชาการศูนย์อาเซียนศึกษาฯ ครั้งที่ ๓/๕๕

 

Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH MicrosoftInternetExplorer4

โครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ถือว่าเป็นศูนย์กลางแห่งการค้าและการขนส่งทางเรือที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของสหภาพพม่าห่างจากเมืองทวาย ประมาณ ๓๐ กิโลเมตร มีพื้นที่ทะเลร่องน้ำลึกประมาณ ๒๔-๓๐ เมตร ครอบคลุมเนื้อที่ประมาณ     ๔ แสนไร่ (๒๕๐ ตารางกิโลเมตร) ประกอบด้วย ท่าเรือน้ำลึก ๒ ท่า ส่วนนิคมอุตสาหกรรม ที่พักอาศัย ส่วนราชการ และส่วนอำนวยความสะดวกต่าง ๆ โดยมี บริษัท อิตาเลียน-ไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) ของไทยเป็นผู้รับสัมปทานภายใต้ระยะเวลากว่า ๗๐ ปี ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวสามารถเชื่อมโยงการสร้างฐานการผลิตใหม่เพื่อลดข้อจำกัดด้านแรงงานและส่งเสริมการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของ ทุน แรงงาน สินค้า และบริการ และเอื้อต่อการเสริมสร้างศักยภาพด้านเศรษฐกิจของอาเซียนเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๕๘ เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความเหมาะสมด้านภูมิรัฐศาสตร์และภูมิยุทธศาสตร์จากการเป็น        จุดเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ด้านการขนส่งทางเรือ อีกทั้งเอื้อต่อการเป็น New Land Bridge ของภูมิภาคที่จะช่วยย่นระยะเวลาและระยะทางในการขนส่งสินค้าไปสู่ทุกภูมิภาคทั่วโลก กล่าวคือ จะช่วยย่นระยะเวลาของเส้นทางเดินเรือจากทวีปอัฟริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง ผ่านมหาสมุทรอินเดีย (ผ่านทางตอนใต้ของอินเดียที่เมืองเชนไน) ผ่านทะเลอันดามันไปสู่ทะเลจีนใต้ได้อย่างสะดวก  โดยไม่ต้องอ้อมผ่านช่องแคบมะละกา

โครงการท่าเรือน้ำลึกฯ ทวาย เกิดจากการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ของพาณิชย์นาวีทางทะเลขนานใหญ่ ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนของเมืองท่า (Emporium) ที่สำคัญในภูมิภาค ซึ่งจะส่งผลให้การเชื่อมโยงในอาเซียนรวมถึงกรอบความร่วมมือที่มีอยู่เดิมอย่างกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub region : GMS) ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลว่าด้วยความร่วมมือหลากหลายสาขาทางเทคนิคและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic cooperation : BIMSTEC) และแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East – West Corridor) ได้รับผลประโยชน์โดยทั่วถึงกัน     อีกทั้งจะก่อให้เกิดปรากฏการณ์จุดตัดของนโยบาย ๓ กระแสขึ้นที่พม่า ได้แก่ นโยบายมุ่งลงใต้ (Look South Policy) ของจีน นโยบายมองตะวันออก (Look East Policy) ของอินเดีย และนโยบายมองตะวันตก (Look West Policy) ของไทย อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ร่วมในภูมิภาคอย่างยั่งยืนโครงการท่าเรือน้ำลึกฯ ทวาย เกิดจากการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ของพาณิชย์นาวีทางทะเลขนานใหญ่ ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนของเมืองท่า (Emporium) ที่สำคัญในภูมิภาค ซึ่งจะส่งผลให้การเชื่อมโยงในอาเซียนรวมถึงกรอบความร่วมมือที่มีอยู่เดิมอย่างกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub region : GMS) ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลว่าด้วยความร่วมมือหลากหลายสาขาทางเทคนิคและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic cooperation : BIMSTEC) และแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East – West Corridor) ได้รับผลประโยชน์โดยทั่วถึงกัน     อีกทั้งจะก่อให้เกิดปรากฏการณ์จุดตัดของนโยบาย ๓ กระแสขึ้นที่พม่า ได้แก่ นโยบายมุ่งลงใต้ (Look South Policy) ของจีน นโยบายมองตะวันออก (Look East Policy) ของอินเดีย และนโยบายมองตะวันตก (Look West Policy) ของไทย อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ร่วมในภูมิภาคอย่างยั่งยืน

 

หากโครงการนี้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ย่อมจะส่งผลให้อาเซียนโดยเฉพาะพม่าที่เปิดประเทศและกำลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านทางการเมืองในประเทศ โดยกำหนดนโยบายและปรับปรุงกฎหมายตลอดจนกฎระเบียบต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการลงทุนจากต่างชาติ อีกทั้งมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ทั้งทางบกและทางทะเลที่รอการสำรวจและยังไม่ถูกนำมาใช้จำนวนมหาศาล อาทิ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ ฯลฯ ถูกจับตามองด้วยความสนใจจากประชาคมโลก ซึ่งจะทำให้สามารถดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติและประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ ให้หลั่งไหลเข้ามาลงทุนในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง โครงการนี้จึงเป็นเสมือนตัวแทนการปฏิรูปเศรษฐกิจของพม่าที่พม่าให้ความสำคัญในระดับสูงสุดและคาดว่าหากโครงการนี้แล้วเสร็จจะนำมาซึ่งผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ และส่งผลให้พม่ากลายเป็นจุดศูนย์กลางที่สามารถเชื่อมโยงประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างจีนและอินเดียได้อย่างรอบด้านหากโครงการนี้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ย่อมจะส่งผลให้อาเซียนโดยเฉพาะพม่าที่เปิดประเทศและกำลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านทางการเมืองในประเทศ โดยกำหนดนโยบายและปรับปรุงกฎหมายตลอดจนกฎระเบียบต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการลงทุนจากต่างชาติ อีกทั้งมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ทั้งทางบกและทางทะเลที่รอการสำรวจและยังไม่ถูกนำมาใช้จำนวนมหาศาล อาทิ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ ฯลฯ ถูกจับตามองด้วยความสนใจจากประชาคมโลก ซึ่งจะทำให้สามารถดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติและประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ ให้หลั่งไหลเข้ามาลงทุนในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง โครงการนี้จึงเป็นเสมือนตัวแทนการปฏิรูปเศรษฐกิจของพม่าที่พม่าให้ความสำคัญในระดับสูงสุดและคาดว่าหากโครงการนี้แล้วเสร็จจะนำมาซึ่งผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ และส่งผลให้พม่ากลายเป็นจุดศูนย์กลางที่สามารถเชื่อมโยงประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างจีนและอินเดียได้อย่างรอบด้าน

โอกาสและความท้าทายของอาเซียนและไทย
    การขับเคลื่อนโครงการท่าเรือน้ำลึกฯ ทวาย จะส่งผลให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีพลวัตทางด้านการค้า การลงทุนในระดับสูงและมีศักยภาพเพียงพอที่จะต่อรองกับประเทศมหาอำนาจอื่นๆ ได้ อีกทั้งยัง    เอื้อประโยชน์ต่อประเทศสมาชิกอาเซียนที่จะได้รับความช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ ที่แฝงมาพร้อมกับการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนข้ามชาติและประเทศมหาอำนาจต่างๆ อาทิ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย เป็นต้น เนื่องจากมองว่าจะได้รับประโยชน์จากโครงการซึ่งมีท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีโครงข่ายการคมนาคมเชื่อมโยงไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ได้อย่างสะดวกและลดต้นทุนการขนส่งเป็นอย่างมาก

การเกิดขึ้นของโครงการท่าเรือน้ำลึกฯ ทวาย จะนำมาซึ่งการพลิกฟื้นท่าเรือของพม่า อาทิ เมาะละแหม่ง ย่างกุ้ง ให้กลับมารุ่งเรืองเหมือนในอดีต อีกทั้งจะเป็น land link ที่เชื่อมโยงทะเลอันดามัน– มหาสมุทรอินเดีย–ทะเลจีนใต้ อันจะก่อให้เกิดการพลิกฟื้นประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ของโลกตะวันตกและโลกตะวันออกอย่างมีนัยสำคัญ โดยโครงการดังกล่าวจะเอื้อประโยชน์ต่อการเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ระหว่างโลกตะวันตกและโลกตะวันออกที่ขาดหายไปให้กลับคืนมาอีกครั้ง