บริบทด้านความมั่นคงในภูมิภาคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ ขั้วอำนาจอย่างพลิกผัน สหรัฐฯ ซึ่งเคยเป็นหนึ่งในมหาอำนาจในมหาสมุทรแอตแลนติกถูกท้าทายจากการผงาดขึ้นมาอย่างรวดเร็วของจีนซึ่งเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคเอเชีย-แปฟิฟิก ทำให้สหรัฐฯ ต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ในเชิงรุกทั้งในด้านการทูต การเศรษฐกิจ และการทหาร เพื่อต้องการตอกย้ำถึงความสำคัญของตนในภูมิภาคและคานอำนาจจากจีนที่เข้ามาขยายอิทธิพลอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน โดยใช้ยุทธศาสตร์การ สกัดกั้นจีนทางเศรษฐกิจควบคู่กับการปิดล้อมจีนทางทหาร สหรัฐฯ เริ่มเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับอาเซียนอย่างจริงจังในช่วง ๒ ปีที่ผ่านมา เห็นได้จากการที่ ประธานาธิบดี บารัค โอบามา เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ครั้งแรก เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๒ ที่สิงคโปร์ และได้ผลักดันกรอบความร่วมมือทั้งในกรอบพหุภาคีและทวิภาคีให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ กรอบความร่วมมือ U.S. – Lower Mekong Initiative เป็นต้น นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังผลักดันความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement : TPP) ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ข้อสังเกตประการหนึ่ง คือ การที่ประธานาธิบดี บารัค ประกาศให้ความสำคัญทางทหารต่อภูมิภาคนี้ในระดับสูงสุดและส่งทหาร จำนวน ๒,๕๐๐ นาย มาประจำการที่เมือง Darwin ของออสเตรเลีย ซึ่งมีภูมิศาสตร์ที่ใกล้กับทะเลจีนใต้เป็นอย่างมาก น่าจะเป็นการดำเนินการในเชิงรุกเพื่อต้องการที่จะสร้างฐานพลังอำนาจและขยายบทบาททางทหารในภูมิภาคให้มากขึ้น ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้จุดชนวนความขัดแย้งในทะเลจีนใต้บริเวณหมู่เกาะสแปรตลีย์ซึ่งเป็นปมขัดแย้งระหว่างจีนกับ ๔ ประเทศสมาชิกอาเซียน (เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และบรูไน) ให้ปะทุขึ้นมาอีกครั้งในการประชุมอาเซียนว่าด้วย ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum : ARF) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงฮานอย เวียดนาม เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๓ ส่งผลให้จีนตอบโต้ด้วยการประกาศอย่างแข็งกร้าวว่าจีนมีอธิปไตยเหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์อย่างเด็ดขาดเพียงประเทศเดียว ต่อมาได้เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งขึ้นอีกเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๔ โดยเวียดนามกล่าวว่าเรือรบของจีนทำความเสียหายแก่เรือสำรวจน้ำมันของบริษัทพลังงานเวียดนาม ในขณะที่ฟิลิปปินส์กล่าวโจมตีจีนอย่างรุนแรงว่าเรือรบจีนได้ยิงปืนเข้าใส่เรือประมง และข่มขู่เรือสำรวจน้ำมันของฟิลิปปินส์ ต่อกรณีนี้สหรัฐฯ แสดงท่าทีชัดเจนที่พร้อมจะปกป้องและอยู่เคียงข้างฟิลิปปินส์และเวียดนาม
การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ASEAN Defence Minister’s Meeting : ADMM) เป็นเวทีความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ๑๐ ประเทศ ต่อมาความร่วมมือทางทหารได้ถูกยกระดับให้เทียบเท่าความร่วมมือด้านการต่างประเทศและเศรษฐกิจ และได้มีการแสวงความร่วมมือจากกลาโหมของประเทศนอกภูมิภาคเพื่อระดมความเชี่ยวชาญและทรัพยากรในด้านต่าง ๆ นำมาซึ่งการจัดการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา (ASEAN Defence Minister’s Meeting-Plus : ADMM-Plus) ซึ่งได้จัดตั้งคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Expert’s Working Groups : EWGs) เพื่อรับผิดชอบกิจกรรมความร่วมมือทั้ง ๕ ด้าน คือ
๑) การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ (Humanitarian Assistance and Disaster Relief : HADR) เวียดนามและจีน เป็นประธาน
๒) ความมั่นคงทางทะเล (Maritime Security : MS) มาเลเซียและออสเตรเลีย เป็นประธาน
๓) การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ (Peacekeeping Operations : PKO) ฟิลิปปินส์และนิวซีแลนด์ เป็นประธาน
๔) การต่อต้านการก่อการร้าย (Counter-Terrorism) อินโดนีเซียและสหรัฐฯ เป็นประธาน และ
๕) การแพทย์ทางทหาร (Military Medicine : MM) สิงคโปร์และญี่ปุ่น เป็นประธาน ทั้งนี้ การที่ประเทศมหาอำนาจ อาทิ จีน อินเดีย รัสเซีย และสหรัฐฯ เข้ามาเป็นประเทศคู่เจรจาของการประชุม ADMM-Plus ทำให้สามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางต่อกรอบ การประชุม ADMM-Plus ได้อย่างชอบธรรม โดยอยู่บนพื้นฐานของ
๑) หลักความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน
๒) หลักการของอาเซียนในประเด็นที่ว่า การเคารพซึ่งอำนาจอธิปไตย การไม่แทรกแซงกิจการภายใน และหลักฉันทามติ
๓) การประชุม ADMM-Plus จะเกื้อกูลต่อการประชุม ADMM และส่งเสริมการบรรลุสู่การเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ASEAN Defence Minister’s Meeting : ADMM) เป็นเวทีความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ๑๐ ประเทศ ต่อมาความร่วมมือทางทหารได้ถูกยกระดับให้เทียบเท่าความร่วมมือด้านการต่างประเทศและเศรษฐกิจ และได้มีการแสวงความร่วมมือจากกลาโหมของประเทศนอกภูมิภาคเพื่อระดมความเชี่ยวชาญและทรัพยากรในด้านต่าง ๆ นำมาซึ่งการจัดการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา (ASEAN Defence Minister’s Meeting-Plus : ADMM-Plus) ซึ่งได้จัดตั้งคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Expert’s Working Groups : EWGs) เพื่อรับผิดชอบกิจกรรมความร่วมมือทั้ง ๕ ด้าน คือ
๑) การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ (Humanitarian Assistance and Disaster Relief : HADR) เวียดนามและจีน เป็นประธาน
๒) ความมั่นคงทางทะเล (Maritime Security : MS) มาเลเซียและออสเตรเลีย เป็นประธาน
๓) การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ (Peacekeeping Operations : PKO) ฟิลิปปินส์และนิวซีแลนด์ เป็นประธาน
๔) การต่อต้านการก่อการร้าย (Counter-Terrorism) อินโดนีเซียและสหรัฐฯ เป็นประธาน และ
๕) การแพทย์ทางทหาร (Military Medicine : MM) สิงคโปร์และญี่ปุ่น เป็นประธาน ทั้งนี้ การที่ประเทศมหาอำนาจ อาทิ จีน อินเดีย รัสเซีย และสหรัฐฯ เข้ามาเป็นประเทศคู่เจรจาของการประชุม ADMM-Plus ทำให้สามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางต่อกรอบ การประชุม ADMM-Plus ได้อย่างชอบธรรม โดยอยู่บนพื้นฐานของ
๑) หลักความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน
๒) หลักการของอาเซียนในประเด็นที่ว่า การเคารพซึ่งอำนาจอธิปไตย การไม่แทรกแซงกิจการภายใน และหลักฉันทามติ
๓) การประชุม ADMM-Plus จะเกื้อกูลต่อการประชุม ADMM และส่งเสริมการบรรลุสู่การเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน