สถาบันวิทยาการทหาร สปจ. (The China Association for Military Science: CAMS) และสถาบันการศึกษายุทธศาสตร์ระหว่างประเทศของ สปจ. (China Institute for International Strategic Studies: CIISS) เชิญ ผอ.ศศย.สปท. เข้าร่วมประชุม “ปักกิ่งเซียงซาน ฟอรั่ม ครั้งที่ 9 (The 9th Beijing Xiangshan Forum)” ณ กรุงปักกิ่ง สปจ. ระหว่างวันที่ 20–23 ต.ค.62
การจัดประชุม Beijing Xiangshan Forum มีชื่อเดิมคือ Xiangshan Forum จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2549 โดยสถาบันวิทยาการทหาร สปจ. (The China Association for Military Science: CAMS) ในรูปแบบการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ (Track 2 Platform) สำหรับการพูดคุยด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จากนั้นในปี พ.ศ.2557 ได้เปลี่ยนรูปแบบเป็นการประชุมกึ่งทางการ (Track 1.5 Platform) และได้เริ่มเชิญผู้เข้าร่วมประชุมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผู้นำทางทหารและหน่วยงานด้านความมั่นคง เจ้าหน้าที่ระดับสูงขององค์กรระหว่างประเทศ อดีตบุคคลสำคัญทางการเมือง และเจ้าหน้าที่อาวุโส รวมถึงนักวิชาการที่มีชื่อเสียงจากทั้งภายในและภายนอกภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 Xiangshan Forum ได้ดำเนินการในลักษณะเจ้าภาพร่วม (Co-hosted) โดยสถาบันวิทยาการทหาร สปจ. และสถาบันการศึกษายุทธศาสตร์ระหว่างประเทศของ สปจ. (China Institute for International Strategic Studies: CIISS) จากนั้นในปี พ.ศ.2561 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Beijing Xiangshan Forum ปัจจุบัน Beijing Xiangshan Forum ได้พัฒนาไปสู่การประชุมด้านความมั่นคงระดับสูงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งเป็นการประชุมที่มีอิทธิพลในระดับนานาชาติ โดยได้กำหนดหัวข้อการประชุมครั้งนี้คือ “Maintaining International Order and Promoting Peace in the Asia-Pacific”
การประชุมปักกิ่งเซียงซัน ฟอรั่ม เป็นการประชุมด้านความมั่นคงระดับสูงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในเวทีนานาชาติ ซึ่งในการประชุมจะมีผู้นำทางทหารและหน่วยงานด้านความมั่นคง ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรระหว่างประเทศ และนักวิชาการที่มีชื่อเสียงเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก
วันที่ 22 ต.ค.62 เวลา 1400-1700 ผอ.ศศย.สปท. ได้รับเชิญขึ้นเสวนาในหัวข้อ “ปัญญาประดิษฐ์และสงครามในอนาคต”
การเดินทางไปราชการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ด้วยความจริงใจ (Openness), การมีส่วนร่วม (Inclusiveness), การเรียนรู้ร่วมกัน (Mutual learning), การร่วมมือกัน (Cooperation) ผลการเข้าร่วมประชุมฯ สรุปได้ดังนี้
การประชุม Beijing Xiangshan Forum ในครั้งนี้ ประชุมภายใต้หัวข้อ “Maintaining International Order and Promoting Peace in the Asia-Pacific” โดยสถาบันผู้จัดงานได้เชิญ ผู้นำหน่วยงานด้านความมั่นคงและการทหาร หน่วยงานคลังสมอง ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ จำนวนกว่า 100 ประเทศ รวมถึงตัวแทนจากองค์กรระหว่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมฯ โดยแบ่งกิจกรรมย่อยได้ ดังนี้
1) เสวนารวมครั้งที่ 1 (Plenary session 1) ในหัวข้อ “Major Country Relation and International Order” มีประเด็นเสวนาเกี่ยวกับการแข่งขันของชาติมหาอำนาจที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบถึงความสัมพันธ์ระหว่างชาติมหาอำนาจและชาติอื่น ๆ ในโลก ทั้งยังสร้างความกังวลถึงระเบียบปฏิบัตินานาชาติที่อาจถูกสั่นคลอน
2) เสวนารวมครั้งที่ 2 (Plenary Session 2) ในหัวข้อ “Security Risk Management in the Asia-Pacific” มีประเด็นเสวนาเกี่ยวกับการแสวงหาแนวทางระหว่างประเทศ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีในการควบคุมความเสี่ยง และบริหารจัดการวิกฤตที่เกิดจากภัยคุกคามด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
3) แยกกลุ่มเสวนาย่อย (Concurrent session) จำนวน 8 กลุ่ม มีหัวข้อดังนี้“Innovation in Security Concept, Strategic Trust and Confidence-Building Measures, Asia-Pacific Security Architecture, Maritime Security Situation, International Counter-Terrorism Cooperation, New Security situation in the Middle East, Scientific and Technological Innovation and International Security” และ “Artificial Intelligence (AI) and Future Warfare”
4) บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “The 70th Anniversary of the Founding of the People’s Republic of China and the Peaceful Development of the World” โดย ผู้แทนจาก China Institute for International strategic studies (CIISS)
5) เสวนารวมครั้งที่ 3 (Plenary Session 3) ในหัวข้อ “Interest of Medium and Small Countries and Common Security” มีประเด็นเสวนาเกี่ยวกับบทบาทความร่วมมือกันรักษาผลประโยชน์ของชาติขนาดกลางและเล็ก ในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนบทบาทของชาติดังกล่าวในการรักษาสันติภาพและยุติข้อขัดแย้ง
6) เสวนารวมครั้งที่ 4 (Plenary session 4) ในหัวข้อ “International Arms Control Regime and Global Stability” มีประเด็นเสวนาเกี่ยวกับความกังวลจากกรณีการถอนตัวของ สรอ. จาก สนธิสัญญา Intermediate-Range Nuclear Forces (INF) และความล่าช้าในการต่ออายุสนธิสัญญา Strategic Arms Reduction Treaty (START) ระหว่าง สรอ. และสหภาพโซเวียต ที่จะหมดอายุลงใน พ.ศ.2563 ตลอดจนเทคโนโลยีอุบัติใหม่ อาจกระทบถึงระบอบการควบคุมอาวุธในระดับนานาชาติ และเสถียรภาพความมั่นคงโลก