เอกสารวิเคราะห์สถานการณ์ยุทธศาสตร์และความมั่นคง ฉบับที่ 6/65 ห้วง 1-31 มี.ค.65 เรื่อง "ทิศทางของเมียนมาหลังการรัฐประหารปีที่ 2"

วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ กองทัพภายใต้การนาของ พล.อ.มิน อ่อง หล่ายได้เข้ายึดอานาจจากรัฐบาลพลเรือนของ อองซาน ซูจี โดยให้เหตุผลว่าพรรคสันนิบาตแห่งชาติมีการทุจริตการเลือกตั้ง นามาสู่การต่อต้านและประท้วงจากประชาชน ต่อมาอาเซียนผลักดันฉันทามติ ๕ ข้อ แต่เมียนมาไม่ยอมตอบสนองข้อเรียกร้องฉันทามติ อาเซียนจึงมีมติไม่เชิญ พล.อ.มิน อ่อง หล่ายเข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้นาอาเซียนในปลายปี ๒๕๖๔ ในเวลาต่อมา อองซาน ซูจี อดีตที่ปรึกษาแห่งรัฐได้ถูกตัดสินโทษจาคุก ในข้อหาฝ่าฝืนมาตรการ COVID-19 ยุยงปลุกปั่น และครอบครองวิทยุสื่อสาร และเมื่อ ม.ค. ๒๕๖๕ สมเด็จ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชาในฐานะประธานอาเซียนในปีนี้ (๒๕๖๕) ได้เดินทางพบ พล.อ.มิน อ่อง หล่าย แม้ถูกทางการเมียนมาปฏิเสธไม่ให้พบ อองซาน ซูจี แต่ยังยืนยันว่าต้องการเป็นคนกลางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในเมียนมา สถานการณ์ในเมียนมานั้น ความรุนแรงยังดาเนินต่อไป ซึ่งส่งผลกับไทยไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกัน