บทความวิเคราะห์สถานการณ์ยุทธศาสตร์และความมั่นคงของประเทศรายสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๖/๕๗ (๑๓ - ๑๙ ม.ค.๕๗)

ปรากฏการณ์เอเชียสปริง (Asia Spring)

          ปรากฏการณ์ที่ประชาชนในหลายประเทศทั่วโลกออกมาเรียกร้องรัฐบาลของตนให้คืนอานาจ เนื่องจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ไม่โปร่งใส ขาดความยุติธรรม โดยไม่เว้นว่าประเทศนั้นจะอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองแบบใด ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากปรากฏการณ์ “Arab Spring” ในตูนิเซีย ก่อนจะแพร่ขยายออกไปทั่วคาบสมุทรอาหรับ และตอนเหนือของแอฟริกา กระทั่งถึงปัจจุบันกระแสดังกล่าวยังมีแนวโน้มลุกลามต่อเนื่องมาถึงหลายประเทศในเอเชีย อาทิ ““บังคลาเทศ” ที่เกิดการประท้วงรัฐบาลครั้งใหญ่จากเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงกระบวนการเลือกตั้งที่เคยปฏิบัติกันมาในอดีต ““กัมพูชา” ที่มีการประท้วงผลการเลือกตั้งอย่างกว้างขวาง จนนาไปสู่การชุมนุมขับไล่ นายกฯ ฮุนเซน ของกลุ่มที่เรียกร้องค่าแรงภายใต้การสนับสนุนของพรรคฝ่ายค้าน ขณะที่ใน ““ประเทศไทย” ก็ได้เกิดปรากฏการณ์ที่ประชาชนจานวนมากออกมาแสดงความไม่พอใจแนวทางการผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรมที่ผ่านมาของรัฐบาลจนนาไปสู่การยุบสภา และเกิดกระแสการเรียกร้อง การปฏิรูปประเทศก่อนการเข้าสู่การเลือกตั้งครั้งใหม่ ข้อสังเกตสาคัญของปรากฏการณ์ต่างๆ ข้างต้น คือ การที่ภาพรวมปัญหาของแต่ละประเทศมีความคล้ายคลึงกันอยู่มากในแง่ที่ประชาชนเจ้าของอานาจจานวนมากเห็นตรงกันว่ารัฐบาลขาดความชอบธรรม จากการที่ไม่ได้บริหารงาน เพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่อย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ความสลับซับซ้อนของปมที่มาของปัญหายังคงมีความแตกต่างกันอยู่มาก ดังนั้น แนวทางการแก้ไขที่ถูกต้องจึงไม่อาจเป็นสูตรสาเร็จตายตัวที่จะสามารถนาไปใช้ได้กับทุกประเทศหรือทุกสถานการณ์ได้ จาเป็นต้องมีการพิจารณาเป็นรายบริบทเฉพาะตัวของแต่ละประเทศ เพื่อแสวงหาจุดสมดุลที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ร่วมกัน โดยมุ่งเน้นไปที่ประโยชน์ของชาติเป็นสาคัญ...