SSC Focus - เอกสารวิเคราะห์สถานการณ์ยุทธศาสตร์และความมั่นคง ฉบับที่ ๕/๖๓ ห้วง ๑ - ๒๙ ก.พ.๖๓

SSC Focus - เอกสารวิเคราะห์สถานการณ์ยุทธศาสตร์และความมั่นคง ฉบับที่ ๕/๖๓ ห้วง ๑ - ๒๙ ก.พ.๖๓ เรื่อง “ความท้าทายของเวียดนามในการเป็นประธานอาเซียนปี ๒๕๖๓” รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๑ สรุปได้ดังนี้

                        ๑. วน. ได้กำหนดแนวทางหลักในการเป็นประธานอาเซียนปี ๖๓ ภายใต้แนวคิด “Cohesive and Responsive” โดยมีประเด็นสำคัญ ได้แก่ (๑) ส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมภายในภูมิภาค (๒) ส่งเสริมความเชื่อมโยงและการปรับตัวในภูมิภาค (๓) ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักอัตลักษณ์ของอาเซียน (๔) สนับสนุนความร่วมมือกับนานาประเทศ และ (๕) พัฒนาวิธีการปรับตัวและประสิทธิภาพในการทำงานของอาเซียน

                        ๒. ความท้าทายของ วน. ในการเป็นประธานอาเซียนปี ๖๓ มีดังนี้ (๑) การสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเจรจาจัดทำประมวลการปฏิบัติในทะเลจีนใต้ (Code of Conduct in the South China Sea : COC) (๒) การกำหนดบทบาทและวางท่าทีที่เหมาะสมต่อแรงกดดันจากชาติมหาอำนาจ โดยคงไว้ซึ่งการรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียน (ASEAN Centrality) (๓) การผลักดันการเจรจาความตกลงพันธมิตรทางการค้าระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) ให้แล้วเสร็จตามที่อาเซียนตั้งเป้าหมายไว้ และ (๔) การรับมือกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่

                    ๓. ประเด็นเร่งด่วนของ วน. ในการเป็นประธานอาเซียนปี ๖๓ ได้แก่ (๑) อาเซียนควรสร้างความตระหนักรู้ถึงประโยชน์ของ การเป็นดิจิตอล (Digitisation)” เพื่อสร้างโอกาส และรายได้ในภาพรวมให้กับอาเซียน (๒) การรับมือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ (๓) การบูรณาการทางการค้าที่แน่นแฟ้นร่วมกับหุ้นส่วนทางการค้าอื่นนอกภูมิภาค  

                    ๔. ไทยควรสนับสนุนการดำเนินการของ วน. ในการสร้างอาเซียนให้เป็นภูมิภาคที่มีความมั่นคง ภายใต้การรักษาไว้ซึ่งความเป็นแกนกลางของอาเซียน สำหรับกองทัพ ควรสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือด้านความมั่นคงเชิงสร้างสรรค์ และส่งเสริมกิจกรรมการทูตเชิงป้องกัน เพื่อเป็นพื้นฐานของการดำรงสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค