ในยุคที่สถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว หลายประเทศต่างก็ต้องเผชิญภาวะความผันผวนอยู่ตลอดเวลา ประเด็นปัญหาภัยคุกคามความมั่นคงบางอย่างที่เคยเป็นปัญหาเพียงประเทศใดประเทศหนึ่งมีการขยายวงกว้างขึ้น กลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศ อาทิ ปัญหาอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ อาชญากรรมข้ามชาติ ฯลฯ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในหลายมิติ (การเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม) ซึ่งอาเซียนต้องปรับตัวให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที โดยรัฐบาลได้ให้ความสาคัญกับการเป็นประชาคมอาเซียน ทั้งการให้ความสาคัญกับ 3 เสาหลักอย่างเท่าเทียมกัน การสร้างการรับรู้และความเข้าใจในลักษณะของการบูรณาการ และการสร้างกลไกการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนในทุกมิติ
ที่ผ่านมาการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยชะลอตัวลง จนทาให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ติดกับดักรายได้ปานกลางมาหลายปี โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไม่มีการปรับตัวมาเป็นเวลานาน ส่งผลทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจลดน้อยลง การส่งออกลดลง ผู้ผลิตไม่สามารถพัฒนาสินค้าที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ต้นทุนด้านแรงงานเพิ่มสูงขึ้น ฯลฯ ดังนั้น รัฐบาลฯ ชุดปัจจุบัน จึงมีนโยบายมุ่งเน้นการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อสร้างให้ประเทศไทยไปสู่การเป็น “Thailand 4.0” และก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง โดยมุ่งเน้นการสร้างความพร้อมให้กับประเทศเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจที่มุ่งไปสู่เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Innovation-Driven Economy) และดำเนินโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) เพื่อส่งเสริมให้ 3 จังหวัดภาคตะวันออก (จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา) เป็นพื้นที่เศรษฐกิจชั้นนาของภูมิภาคอาเซียน
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ได้ตระหนักรู้เกี่ยวกับ “ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC)” ซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องของการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการผลิตขั้นสูงที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย และยกระดับให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตของอาเซียนอย่างแท้จริง ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ฯ จึงได้จัดการประชุมเชิงสัมมนาทางวิชาการ ศูนย์อาเซียนศึกษาฯ ครั้งที่ 1/2561 เรื่อง “การบูรณาการด้านความมั่นคงเพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวิชาการให้กับหน่วยงานทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานด้านความมั่นคง (กองทัพ) เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ประกอบการภาคเอกชนนักวิชาการในสถาบันการศึกษา ฯลฯ ซึ่งข้อคิดเห็นที่ได้จากการประชุมฯ จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานทุกภาคส่วนให้สามารถนาไปใช้เป็นฐานข้อมูลในการจัดทานโยบาย แผนยุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิบัติงาน ต่อไป