ศูนย์อาเซียนศึกษา สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้เป็นแหล่งค้นคว้า วิจัย รวบรวมข้อมูล และข้อคิดเห็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ของประเทศต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นในกลุ่มชาติสมาชิกอาเซียนเป็นหลัก เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา และเป็นแหล่งข้อมูลให้แก่บุคลากรในกองทัพ ซึ่งในปีงบประมาณ 2564 มีการจัดการประชุมฯ จำนวน 3 ครั้ง โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) การประชุมฯ ครั้งที่ 1/2565 เรื่อง “ทิศทางของอาเซียนภายใต้การนำของบรูไนท่ามกลางการแข่งขันของชาติมหาอำนาจ”
จากสถานการณ์การแข่งขันของชาติมหาอำนาจยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกให้ความสนใจ ซึ่งส่งผลกระทบกับทุกประเทศ และทุกภูมิภาคทั่วโลก และเมื่อชาติมหาอำนาจหันมาให้ความสนใจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้นและพยายามที่จะผลักดันให้เกิดความร่วมมือกับอาเซียนในด้านต่าง ๆ ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม โดยประเทศมหาอำนาจที่มีทุนที่เข้มแข็ง และมีความพร้อมด้านการลงทุนจะมีการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อเร่งการพัฒนาเมืองพัฒนาเศรษฐกิจ โดยที่ประเทศที่กำลังพัฒนานั้นต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับการเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจโลก และสำหรับภูมิภาคอาเซียนเองที่ต้องใช้ความสามารถในการประคับประคองและเอาตัวรอด เพื่อไม่ให้อาเซียนกลายเป็นเขตอิทธิพลของมหาอำนาจ ที่มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากการแข่งขันของชาติมหาอำนาจรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน
2) การประชุมฯ ครั้งที่ 2/2565 เรื่อง “อนาคตความมั่นคงทางสาธารณสุขของอาเซียน” เรื่อง “เทคโนโลยีอุบัติใหม่ (Emerging Technology): ผลกระทบต่อความมั่นคงของอาเซียนและไทย”
ความก้าวหน้าทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว (Exponential Technology) ถือเป็นความท้าทายใหม่ด้านความมั่นคงที่มีผลกระทบต่อโลก การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ทำให้โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกระทบต่อกองทัพที่สำคัญคือ “เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)” ปัญญาประดิษฐ์ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของรูปแบบสงครามในอนาคต (Future Warfare) เนื่องจากปัจจัยด้านเทคโนโลยีเป็นปัจจัยเร่งที่สำคัญให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายมิติที่มีความเชื่อมโยงถึงกันและมีความซับซ้อน ที่อาจเป็นทั้งที่มาและแนวโน้มก่อให้เกิดความขัดแย้ง จนอาจกลายเป็นการทำสงครามขึ้นในอนาคตได้ โดยเฉพาะ “เทคโนโลยีอุบัติใหม่ (Emerging Technologies)” การที่โลกมีการเชื่อมโยงกันมากขึ้น จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้มีนวัตกรรมเข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตของมนุษย์มากยิ่งขึ้น โดยเทคโนโลยีอุบัติใหม่ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้ประโยชน์มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเพื่อตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะด้าน เช่น ด้านสังคม ด้านการแพทย์ ด้านการทหาร และยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจในหลายด้าน โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมของภาคอุตสาหกรรมซึ่งนำไปสู่การสร้างโอกาสทางธุรกิจ และการขยายตลาด หรือด้านการทหารที่เทคโนโลยีอุบัติใหม่ส่งเสริมความก้าวหน้าของนวัตกรรมอาวุธในปัจจุบัน ที่ทำให้กองทัพต้องคำนึงถึงทิศทางในการดำเนินการ เนื่องจากการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีอุบัติใหม่ เป็นการเพิ่มศักยภาพกองทัพมากขึ้น
3) การประชุมฯ ครั้งที่ 3/2565 “เรื่อง ภาพอนาคตทางยุทธศาสตร์ของเซียน พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๖๗ (ASEAN Strategic Outlook 2023-2027)
ในปัจจุบันสภาวะแวดล้อมโลกไม่ว่าจะเป็นทางด้านสังคมจิตวิทยา (Social) ด้านเทคโนโลยี (Technology) ด้านเศรษฐกิจ (Economic) ด้านการเมือง (Political) และด้านการทหาร (Military) มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดภัยคุกคามใหม่ ๆ ที่มีความสลับซับซ้อนและส่งผลกระทบต่อประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น ปัญหาโรคระบาด ความขัดแย้งทางการเมืองในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก การแข่งขันทางยุทธศาสตร์ของประเทศมหาอำนาจ การกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงและการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศที่รวดเร็วขึ้น[1] และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว เช่น เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ เทคโนโลยีการต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม เทคโนโลยี ไซเบอร์ และเทคโนโลยีอัตโนมัติ เป็นต้น