เอกสารวิเคราะห์สถานการณ์ยุทธศาสตร์และความมั่นคง ฉบับที่ ๔/๖๓ ห้วง ๑ – ๓๑ ม.ค.๖๓

เอกสารวิเคราะห์สถานการณ์ยุทธศาสตร์และความมั่นคง ฉบับที่ ๔/๖๓ ห้วง ๑ – ๓๑ ม.ค.๖๓

                           ๑. การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายสัญชาติ (Citizenship Amendment Act: CAA) ของอินเดีย 
ที่ได้ผ่านสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาของอินเดียไปเมื่อ ๑๑ ธ.ค.๖๒ นับเป็นฉนวนเหตุในการออกมาชุมนุมประท้วงของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายดังกล่าว ส่งผลให้มียอดผู้เสียชีวิตอย่างน้อย ๒๕ ราย และมี
ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายนี้เกือบสองล้านคน สาเหตุประท้วงครั้งนี้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบมองว่าเป็นการเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานทางศาสนา และความไม่ชัดเจนของรัฐบาลในการนำกฎหมาย CAA ไปสู่การปฏิบัติ

                   ๒. นานาประเทศรวมถึงพรรคการเมืองภายในประเทศอินเดีย อาทิ องค์การความร่วมมืออิสลาม (Organisation of Islamic Cooperation: OIC) สำนักข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Office of High Commissioner for Human Rights: UNOHCHR) พรรคคองเกรส และสหพันธ์สหภาพมุสลิมอินเดีย ได้แสดงความกังวลและห่วงใยว่ากฎหมายฉบับนี้จะนำไปสู่ความขัดแย้งภายในประเทศที่บานปลาย

                 ๓. เมื่อพิจารณาถึงประเด็นเรื่องศาสนาพบว่า รัฐบาลไทยยังคงสามารถรักษาสมดุลทางด้านศาสนาได้ดี และใช้ความระมัดระวังอย่างมากต่อประเด็นศาสนาภายในประเทศ ทำให้กรณีดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยก็มีความจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังองค์การทางศาสนาที่มีบทบาทเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบันด้วย เนื่องจากประเด็นศาสนาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ไม่ควรนำไปขยายผลหรือหยิบยกขึ้นมาให้เกิดความแตกแยกในสังคม



                แบบสอบถามความพึงพอใจเอกสารวิเคราะห์สถานการณ์ยุทธศาสตร์และความมั่นคง