เอกสารวิจัย SAREC ปี 2563 เรื่อง "ความท้าทายตามแนวแม่น้ำโขง : ศึกษาเฉพาะกรณีพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ"

ความท้าทายตามแนวแม่น้ำโขง : ศึกษาเฉพาะกรณีพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้เป็นการศึกษาความท้าทายตามแนวแม่นน้ำโขง ศึกษาเฉพาะกรณีพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” โดยมีวัตถุประสงค์คือ

    ๑) เพื่อศึกษาความท้าทายต่อความมั่นคงแบบองค์รวม ตามแนวแม่น้ำโขงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    ๒) ศึกษาผลกระทบจากความท้าทายต่อความมั่นคงแบบองค์รวมทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ตามแนวแม่น้ำโขงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    ๓) ศึกษาแนวทางในการสร้างโอกาสและความร่วมมือต่อความมั่นคงแบบองค์รวม ตามแนวแม่น้ำโขงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ

    ๔) ศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อกองทัพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการรองรับกับความท้าทายต่อความมั่นคงแบบองค์รวม ตามแนวแม่น้ำโขงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


การวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผลการวิจัยนี้มาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติภารกิจและอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของชาติ ทั้งด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และภาคประชาสังคม รวมทั้งองค์กร NGOs ที่เกี่ยวข้องบริเวณชายแดนตามแนวแม่น้ำโขงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และน้ำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)


ผลการศึกษาพบว่า

    ๑. ความท้าทายต่อความมั่นคงแบบองค์รวมตามแนวแม่น้ำโขงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

        ๑.๑ ความเชื่อมโยง (Connectivity) ได้แก่

                (๑) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเส้นทางคมนาคม

                (๒) กลไกความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงยังคงพบอุปสรรคบางประการ

                (๓) การเข้ามาของเทคโนโลยี เช่น อากาศยานไร้คนขับ (Drone)

                (๔) ปัญหาจากการสร้างเขื่อน และ

                (๕) ปัญหาด้านสาธารณสุข

        ๑.๒ ปรากฏการณ์ทางสังคม (Phenomena) ได้แก่

                (๑) สายสัมพันธ์ความเป็นบ้านพี่เมืองน้อง และ

                (๒) การเปลี่ยนแปลงเชิงวัฒนธรรมของชุมชนริมฝั่งโขง

        ๑.๓ สิ่งแวดล้อม (Environment) ได้แก่

                (๑) การลดลงของแม่น้ำโขง

                (๒) ปัญหาภัยแล้ง

                (๓) การเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อาหาร

                (๔) ปัญหาความไม่ชัดเจนเรื่องเขตแดน โดยเฉพาะเรื่องเกาะดอน

                (๕) ปัญหาการดูดทราย

                (๖) ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรน้ำ และ

                (๗) การเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรทางธรรมชาติ

        ๑.๔ การเคลื่อนย้าย (Mobility) ได้แก่

                (๑) การค้าชายแดนและการเข้ามาของกลุ่มทุนต่างชาติ

                (๒) การลักลอบนำเข้า-ส่งออกสินค้าผิดกฎหมาย

                (๓) การค้ามนุษย์

                (๔) การหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย และ

                (๕) คนไร้รัฐ-ไร้สัญชาติ

    ๒. ผลกระทบจากความท้าทายต่อความมั่นคงแบบองค์รวมทั้งเชิงบวกและเชิงลบตามแนวแม่น้ำโขงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

        ๒.๑ ผลกระทบเชิงบวก ได้แก่

                (๑) ระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่ลดลงส่งผลดีต่อการท่องเที่ยว

                (๒) นโยบายของประเทศมหาอำนาจต่อประเทศเพื่อนบ้าน (๓) การสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเพื่อนบ้าน และ

                (๔) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

        ๒.๒ ผลกระทบเชิงลบ ได้แก่

                (๑) ระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่ลดลง

                (๒) ปัญหาภัยแล้ง

                (๓) การสร้างเขื่อนของประเทศเพื่อนบ้าน

                (๔) เศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำ

                (๕) การปรับเปลี่ยนนโยบายการนำเข้าสินค้าของประเทศมหาอำนาจ

                (๖) นโยบายการต่างประเทศของประเทศมหาอำนาจ

                (๗) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

                (๘) การเปลี่ยนแปลงร่องน้ำลึก

                (๙) ปัญหากรรมสิทธิ์ในการครอบครองเกาะดอนที่เกิดขึ้นใหม่

                (๑๐) การระเบิดเกาะแก่งหินธรรมชาติตามแนวแม่น้ำโขง

                (๑๑) การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง

๓. แนวทางในการสร้างโอกาสและความร่วมมือต่อความมั่นคงแบบองค์รวม 

        ๓.๑ ความร่วมมือภายในประเทศ ได้แก่

                (๑) ความร่วมมือกับหน่วยงานภายในประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน

                (๒) ความร่วมมือกับหน่วยงานด้านการศึกษาโดยมุ่งเน้นการค้นคว้าและวิจัยร่วมกัน และ

                (๓) การสร้างโครงข่ายความร่วมมือระดับชุมชน

        ๓.๒ ความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้แก่

                (๑) ความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับหน่วยงานทางทหารของประเทศเพื่อนบ้าน

                (๒) ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐของไทยเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ตามแนวชายแดน

                (๓) ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ผ่านกลไกความร่วมมือระหว่างจังหวัดและแขวง

                (๔) ความร่วมมือด้านการศึกษา และ

                (๕) ความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในการจัดการน้ำในแม่น้ำโขง

๔. แนวทางและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อกองทัพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการรองรับกับความท้าทายต่อความมั่นคงแบบองค์รวม

        ๔.๑ แนวทางและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อกองทัพ

                (๑) กองทัพสามารถเข้ามามีส่วนในการสนับสนุนขีดความสามารถโดยเฉพาะการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศ

                (๒) กองทัพสามารถใช้ปัจจัยที่เกื้อกูล ได้แก่ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรมมาพัฒนาความสัมพันธ์ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน

                (๓) กองทัพสามารถเข้ามาร่วมบูรณาการในการจัดทำฐานข้อมูลด้านความมั่นคง เพื่อรับมือกับความท้าทายต่อความมั่นคง และ

                (๔) กองทัพสามารถเข้ามามีส่วนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาคมข่าวด้านความมั่นคงระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน

        ๔.๒ แนวทางและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                (๑) การดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในการลดโอกาสการนำปมทางประวัติศาสตร์ในอดีตมากระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างกันในปัจจุบัน

                (๒) ภาครัฐควรสนับสนุนให้เกิดการพึ่งตนเองและปรับตัวด้านการประกอบอาชีพบนฐานเศรษฐกิจชุมชนลุ่มแม่น้ำโขง

                (๓) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้ในเรื่องการปรับตัวด้านความมั่นคงด้านอาหารแก่ประชาชนในพื้นที่ และ

                (๔) ภาครัฐควรมีการจัดทำฐานข้อมูลด้านการบริหารจัดการในแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขา


ข้อเสนอแนะ 

๑. ข้อเสนอแนะสำหรับกองทัพ

        (๑) กองทัพควรสนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน เพื่อการเฝ้าติดตามและรับมือกับความท้าทายในพื้นที่ตามแนวแม่น้ำโขง ในลักษณะศูนย์ปฏิบัติการร่วม (Joint Control and Cooperation Center)

        (๒) กองทัพสามารถเข้ามามีส่วนในการสนับสนุนขีดความสามารถและงานในการพัฒนาประเทศ

        (๓) กองทัพควรมีการจัดตั้งช่องทางการสื่อสารในภาวะวิกฤติ (Crisis communication) เพื่อลดข้อพิพาทในพื้นที่คลุมเครือ (Grey Zone conflicts) เช่น พื้นที่เกาะดอนและการปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง เป็นต้น

        (๔) กองทัพควรดำรงความต่อเนื่องในการสร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและใช้ทักษะทางวัฒนธรรม และ

        (๕) กองทัพควรเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาคมข่าวด้านความมั่นคงระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน

๒. ข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

        (๑) ภาครัฐควรมีการริเริ่มและจัดตั้งประชาคม/ภาคี เพื่อการบริหารจัดการแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาอย่างยั่งยืนทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่

        (๒) ภาครัฐควรสนับสนุนให้เกิดการพึ่งตนเองและปรับตัวด้านการประกอบอาชีพบนฐานเศรษฐกิจชุมชนลุ่มแม่น้ำโขง

        (๓) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความรู้ในเรื่องการปรับตัวด้านความมั่นคงด้านอาหารแก่ประชาชนในพื้นที่

        (๔) มีระบบการช่วยเหลือ ชดเชย เยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาแม่น้ำโขงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

        (๕) ภาครัฐควรนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) เข้ามาใช้ในการขับเคลื่อนงานด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และเป็นฐานข้อมูลด้านการบริหารจัดการในแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขา และ

        (๖) ควรมีการบูรณาการงานวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเชิงนิเวศของแม่น้ำโขง