บทความวิเคราะห์สถานการณ์ยุทธศาสตร์และความมั่นคงของประเทศรายสัปดาห์ ฉบับที่ 12/66 (16 - 20 ม.ค.66) เรื่อง แนวคิด Social Cohesion กับการสร้างสังคมที่มั่นคงและยั่งยืน

แนวคิด Social Cohesion กับการสร้างสังคมที่มั่นคงและยั่งยืน

 แนวคิดความเป็นปึกแผ่นของสังคม (Social Cohesion) เป็นแนวคิดที่พัฒนามาตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๙ โดยนักวิชาการและนักนโยบายทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ความสนใจและนำแนวคิดไปประยุกต์ออกแบบเป็นนโยบายและการปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนให้เกิดความเป็นปึกแผ่นหรือบูรณาการทางสังคม ให้ชุมชนอยู่ดีกินดี สามารถนำมาปรับใช้จะช่วยสร้างเสริมและธำรงความเป็นปึกแผ่นเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม

ในความเป็นจริงความมั่นคงทางสังคมถือว่าเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานสำคัญประการหนึ่งของสังคมมนุษย์ ด้วยลักษณะสังคมในปัจจุบันเป็นแบบพหุวัฒนธรรม (Multicultural Society) มีความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ภาษา และศาสนา เป็นต้น ความแตกต่างเหล่านี้เป็น
ตัวขัดขวางความไว้วางใจ (
Trust) และความร่วมมือ (Cooperation) ระหว่างสมาชิกในสังคม อย่างไรก็ตาม แม้แนวความคิดดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๙ ถึงปัจจุบัน แต่ก็มีวิธีแนวทางระเบียบวิธีวิจัยที่แตกต่างกัน โดยงานส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจะเป็นของประเทศตะวันตก
สำหรับประเทศไทยยังไม่ได้รับความสนใจมากนัก ซึ่งสามารถแบ่งวิธีการวิเคราะห์วิจัยได้เป็น ๓