ปัจจุบันปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากจะเป็นปัญหาอันสืบเนื่องมาจากชาติพันธุ์และชาตินิยมใน อัตลักษณ์ที่เกิดจากการรับรู้ผ่านประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันกระทั่งถูกหยิบยกเป็นประเด็นว่าไม่สามารถกลมกลืนเข้ากันได้ ซึ่งผู้ก่อความรุนแรงมักใช้เป็นประเด็นและเครื่องมือในการสร้างกลุ่มคนรุ่นใหม่ขึ้นมาเพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อไป เป็นเหตุให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างอัตลักษณ์ทางศาสนา แต่หากพิจารณาอย่างถ่องแท้แล้วกลับพบว่า เงื่อนไขของการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นผลสืบเนื่องมาจากเงื่อนไขที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงกัน ตามนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๗ มาตรา ๔ แห่ง พ.ร.บ. การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยสานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๘ ก.พ. ๕๕ อธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ว่า เงื่อนไขของการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีลักษณะคล้ายคลึงภูเขาน้าแข็ง ซึ่งปัญหาที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนจะปรากฏให้เห็นเด่นชัดดังเช่นส่วนยอดของภูเขาน้าแข็งคือเงื่อนไข “ระดับบุคคล (Direct/ Personal Level)” แต่รากเหง้าของปัญหานั้นมีที่มาจากปัญหาในระดับโครงสร้าง (Structure Level) วัฒนธรรม (Cultural Level) และซ้อนอยู่เบื้องล่างเปรียบเสมือนฐานของภูเขาน้าแข็ง ที่สอดประสานและฝังรากลึกมาตั้งแต่อดีต