Policy Brief: 4/2563 ฝ่าวิกฤติ COVID-19 : มาตรการปลดล็อกกับแนวทาง การเตรียมความพร้อมสำาหรับความมั่นคง
ศศย.สปท. ได้จัดทำ Security Lab ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กรณีที่หากประเทศไทยได้มีมาตรการปลดล็อกประเทศ เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจและผ่อนคลายความตึงเครียดในสังคม เพื่อให้เกิดการสมดุลทั้งการควบคุมโรคและการประกอบกิจการและกิจกรรมต่าง ๆ ให้ประชาชนได้กลับสู่ชีวิตปกติ โดยใช้กระบวนการกำหนดภาพฉากทัศน์ (Scenario) และการคิดเชิงย ุทธศาสตร์ (Strategic Thinking) ผลวิ เคราะห์จาก ๖ มิติ (STEEP-M) พบว่าใน มิติด้านสังคม นั้น ควรกำหนดเป้าหมายให้ “ประชาชนสามารถกลับมาดำรงชีวิตได้อย่างผาสุกในฐานวิถีชิวิตแบบใหม่ (New Normal)” โดยรัฐควรสนับสนุนผู้ประกอบ
การประคองการดำเนินการธุรกิจ มีการจ้างงานและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การฝึกทักษะอาชีพและการบริหารเงินของประชาชน รวมทั้งปลูกฝังแนวความคิดการพึ่งตนเองแบบยั่งยืน มิติด้านเทคโนโลยี ควรตั้งเป้าหมายให้ “มีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีและระบบนิเวศดิจิทัลได้รับการพัฒนา ประชาชนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างทั่วถึง” โดยสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงดิจิทัล (Digital Divide) มิติด้านเศรษฐกิจ ควรมีเป้าหมายให้ “คงดำรงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนฐานวิถีปกติแบบใหม่” โดยสร้างแพลตฟอร์มและพัฒนาทักษะอาชีพบนฐานเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) มิติด้านสิ่งแวดล้อม ควรมีเป้าหมาย “สร้างสมดุล
วิถีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับมาตรการการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-๑๙” โดยกำหนดมาตรการ ข้อจูงใจด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กับมาตราการด้านสาธารณสุข มิติด้านการเมือง ควรมีเป้าหมาย “สร้างความเชื่อมั่นของประชาชนในเรื่องการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ ของรัฐบาล” โดยการสร้างธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และความเป็นธรรมต่อกลุ่มชนทุกระดับ และมิติด้านทหาร นั้น ควรมีเป้าหมาย“เป็นกองทัพที่มีความยืดหยุ่น (Resilience) และมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองต่อภัยคุกคามความมั่นคงในทุกรูปแบบ” โดยควรปรับบทบาทภารกิจ และการใช้งบประมาณให้สอดคล้องกับภัยคุกคามที เปลี่ยนแปลงไป